“ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก “ ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน
“ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) หรือ “โรคลมแดด” คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน
โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการของโรคลมแดด
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน
การป้องกัน
- ไม่อยู่กลางแดดนาน ๆ
- ดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าปกติ
- ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
- ไม่ปล่อยเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวอยู่ในพื้นที่ความร้อนสูงตามลำพัง
การปฐมพยาบาล
- หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้รีบนำตัวเข้าที่ร่ม คลายเสื้อผ้า นอนราบยกเท้าสูงเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และให้ดื่นน้ำเยอะ ๆ โดยอาจใช้น้ำแข็งประคบ หรือเปิดพัดลมให้อากาศถ่ายเท
- หากผู้ป่วยหมดสติ และไม่พบสัญญาณชีพ ให้รีบ CPR ร่วมกับการใช้เครื่อง AED และโทร.เรียก 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
ด้วยความห่วงใยจาก งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา
กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เจ็บป่วยฉุกเฉิน : โทร.1669